Welcome to โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง!
หน้าแรก  เข้าระบบ ค้นหา  ประวัติโรงเรียน  ข้อมูลพื้นฐาน  ประมวลข่าว  ดาวน์โหลด  กระดานข่าว  Email  ติดต่อเรา

   รับ-ส่งหนังสือราชการ
E-offece

   เมนูหลัก
. หน้าแรก
. เข้าสู่ระบบ
. ค้นหา
. ประวัติโรงเรียน
. ข้อมูลพื้นฐาน
. ปฏิทินกิจกรรม
. ในรั้วโรงเรียน
. เผยแพร่ผลงานครู
. เรื่องจากสมาชิก
. ส่งเรื่อง
. ประมวลข่าว...
    
· โครงการ/กิจกรรม
    
· ประชาสัมพันธ์
    
· ทั่วไป
. ประมวลภาพกิจกรรม
. ประมวลวีดิทัศน์
. บทเรียนออนไลน์
. แบบทดสอบออนไลน์
. ห้องสนทนาออนไลน์
. ระบบทะเบียนออนไลน์
. แบบสำรวจ
. ดาวน์โหลด
. กระดานข่าว
. เว็บน่าสนใจ
. Hot Vote
. แผนที่การเดินทาง
. E-Mail
. ติดต่อเรา

   ทำเนียบบุคคลากร
. คณะกรรมการฯ

. ฝ่ายบริหาร

สายงานการสอน
. มัธยมฯ 1-3
. ประถมฯ 4-6
. ประถมฯ 1-3
. ก่อนประถมศึกษา

. นักการ

   เผยแพร่ผลงานครู
More..

โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง: บทเรียนออนไลน์: เพลงโหมโรง
บทเรียนออนไลน์

กลับไปหน้าแรก
บทเรียนล่าสุด
บทเรียนที่ได้รับความนิยม
บทเรียนที่ได้รับคะแนนสูง

เข้าระบบ เพื่อเข้าชมบทเรียนโปรด

รายละเอียด: เพลงโหมโรงเป็นบทเพลงไทยที่นิยมบรรเลงเป็นเพลงแรก เพลงแรกส่วนใหญ่ใช้ดนตรีบรรเลงล้วน ๆ
เวอร์ชัน: 1.0
เมื่อ: 26 ตุลาคม 2008
โดย: kmoo
ระดับความยากง่าย: ง่ายมาก
เข้าชม: 11162
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลงคะแนน

เพลงโหมโรง

เพลงโหมโรงเป็นบทเพลงไทยที่นิยมบรรเลงเป็นเพลงแรก เพลงแรกส่วนใหญ่ใช้ดนตรีบรรเลงล้วน ๆ บางเพลงมีผู้แต่งร้องไว้ด้วยแต่ไม่นิยมนัก


จุดมุ่งหมายของการบรรเลงเพลงโหมโรง

1. ไหว้ครูดนตรีไทย หรือ รำลึกถึงครูอาจารย์ เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย อัญเชิญมาปกป้องคุ้มครองให้การบรรเลงแต่ละครั้งประสบความสำเร็จ

2. เตรียมความพร้อมของนักดนตรี เพื่อนักดนตรีเกิดทักษะในการบรรเลง เมื่อบรรเลงเพลงต่อไปจะบรรเลงได้ราบรื่นขึ้น

3. ประกาศว่าขณะนี้มีงานอะไร เมื่อบรรเลงเพลงโหมโรง ผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงจะทราบลักษณะงาน จากเสียงดนตรีที่ได้ยิน

4. ให้คนร้องชินกับเสียงดนตรี สามารถจำเสียงลงจบของโหมโรงที่จะต้องตัด ลงท้ายเพลง “วา” และนำมาเทียบเสียงในการขึ้นร้องเพลงต่อไปได้

5. เตรียมเครื่องดนตรีให้พร้อมที่จะบรรเลงเพลงต่อไป เช่น กรณีเสียงเพี้ยน จะได้ตกแต่ง ขึ้นสาย ให้เสียงไม่เพี้ยน


เพลงโหมโรงมีหลายลักษณะ มีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น โหมโรงเช้า โหมโรงเย็น โหมโรงลิเก โหมโรงโขนละคร โหมโรงเสภา โหมโรงมโหรี เพลงโหมโรงที่มีความแตกต่างในกลุ่มเพลงโหมโรงด้วยกันได้แก่เพลงชุดโหมโรง เช้า ชุดโหมโรงเย็น ซึ่งมีเพลงหลายเพลงใน 1 ชุด


ตัวอย่างเพลงชุดโหมโรงเย็นมีเพลงต่าง ๆ ดังนี้
1. สาธุการ
2. ตระโหมโรง (หญ้าปากคอก)
3. รัวสามลา
4. ต้นเข้าม่าน
5. เข้าม่าน
6. ปฐม
7. ปลายปฐม
8. ลา
9. เสมอ
10. รัวลาเดียว
11. เชิดกลอง
12. กลม
13. ชำนาญ
14. กราวใน


ตัวอย่างลักษณะเพลงโหมโรง ชนิดต่าง ๆ

1. โหมโรงเช้า ใช้บรรเลงในงานมงคลพิธีต่าง ๆ ซึ่งจะมีขึ้นในตอนเช้า เช่น งานที่รู้จักกันเป็นสามัญว่า งานสวดมนต์เย็นฉันเช้า การทำบุญเลี้ยงพระ เพลงที่บรรเลง มี 5 เพลง ได้แก่ สาธุการ เหาะ รัว กลม ชำนาญ

2. โหมโรงกลางวัน เป็นโหมโรงที่เกิดขึ้นจากประเพณีการแสดง มหรสพในสมัยโบราณ ถ้าเป็นการแสดงกลางวัน ซึ่งได้เริ่มแสดงตั้งแต่เช้ามาแล้ว เมื่อถึงเวลาเที่ยงจะต้องหยุดพักกลางวัน เพื่อให้ตัวละครและผู้บรรเลงดนตรี ตลอดจนผู้ร่วมงานการแสดงนั้น ได้หยุดพักและรับประทานอาหารกลางวัน โหมโรงกลางวัน ประกอบด้วยเพลง กราวใน เชิด ชุบ ลา กระบองตัน เสมอข้ามสมุทร เชิดฉาน ปลูก ต้นไม้ ชายเรือ รุกร้น แผละ เหาะ โล้ วา

3. โหมโรงเย็น เป็นเพลง ชุดที่ใช้บรรเลงในตอนเย็นของงาน การนิมนต์พระมาสวดเย็น ในการเริ่มงานมงคลต่าง ๆ ประกอบด้วยเพลงชุดนี้มี 12 เพลง สาธุการ ตระโหมโรง รัวสามลา ต้นชุบ เข้าม่าน ปฐม ลา เสมอ รัว เชิด กลม ชำนาญ กราวใน ต้นชุบ

4. โหมโรงเสภา เกิดขึ้นครั้งแรกใน สมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีการนำเอาปี่พาทย์มาบรรเลงประกอบการขับเสภา การโหมโรงเสภาใช้ลักษณะเดียวกันกับโหมโรง ก่อนการแสดงละคร คือ ปี่พาทย์จะบรรเลงหน้าพาทย์ชุดต่างๆ จนกระทั่งถึงเพลงวาแล้วจึงเริ่มการแสดง ต่อมาเพื่อไม่ให้เสียเวลามาก ใช้บรรเลง เพลงวา เพลงเดียว จากนั้นก็เปลี่ยนมาใช้เพลงในอัตราสองชั้นและสามชั้นตามความนิยม แต่ก็ยังยึดถือกันว่า ต้องจบด้วยทำนองตอนท้ายของเพลงวา นอกจากนั้น ยังกำหนดให้บรรเลง เพลงรัว ซึ่งเรียกกันเป็นสามัญว่า รัวประลองเสภา แล้วจึงบรรเลงเพลงโหมโรง

เพลงโหมโรงเสภาชุดนี้มี 2 เพลงคือ

1) เพลงรัวประลองเสภา เป็นเพลงสั้น ๆ เพื่ออุ่นเครื่องของนักดนตรีและเพื่อตรวจความเรียบร้อยของเครื่องดนตรี นอกจากนี้เพื่อให้ฟังตื่นเต้นเร้าใจ ก่อนที่จะฟังเพลงโหมโรงหวาน ๆ ในเพลงต่อไป

2) ตัวเพลงโหมโรงเสภา เป็นเพลงเดี่ยว ๆ เช่น เพลงไอยเรศ สะบัดสะบิ้ง หรืออะไรก็ได้ หรือจะเอา 2 - 3 เพลงมาบรรเลงติดต่อกันเป็นชุดสั้น ๆ ก็ได้ ข้อสำคัญเพลงโหมโรงเหล่านี้จะต้องลงท้ายด้วยเพลงลาเสมอ

นักเรียนจะเห็นได้ว่าเพลงไทยทุกเพลงที่แต่งขึ้นมีจุดมุ่งหมายและแนวทาง บรรเลงที่แตกต่างกันไป อาจแต่งเพื่อความสนุกสนาน หรือเพื่อแสดงความสามารถของผู้บรรเลง หรือเพื่อประกอบในกิจกรรมอื่น ๆ หรือเพื่อต้องการฟังที่สมบูรณ์แบบ และด้วยเหตุนี้ผู้ประพันธ์เพลงจึงพยายามประพันธ์บทเพลงให้มีท่วงทำนองและ ลีลาของเพลงไปตามจุดมุ่งหมายนั้น ๆ ด้วย





โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 1008 ต. ท่าะมะเขือ อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร 62120 โทร. 055863517 anubankk@gmail.c0m
Best view with IE6+, FireFox6+, Chrome @Res1024x768pxl
This site was established on December 5, 2007.



การสร้างหน้าเอกสาร: 2.01 วินาที