Welcome to โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง!
หน้าแรก  เข้าระบบ ค้นหา  ประวัติโรงเรียน  ข้อมูลพื้นฐาน  ประมวลข่าว  ดาวน์โหลด  กระดานข่าว  Email  ติดต่อเรา

   รับ-ส่งหนังสือราชการ
E-offece

   เมนูหลัก
. หน้าแรก
. เข้าสู่ระบบ
. ค้นหา
. ประวัติโรงเรียน
. ข้อมูลพื้นฐาน
. ปฏิทินกิจกรรม
. ในรั้วโรงเรียน
. เผยแพร่ผลงานครู
. เรื่องจากสมาชิก
. ส่งเรื่อง
. ประมวลข่าว...
    
· โครงการ/กิจกรรม
    
· ประชาสัมพันธ์
    
· ทั่วไป
. ประมวลภาพกิจกรรม
. ประมวลวีดิทัศน์
. บทเรียนออนไลน์
. แบบทดสอบออนไลน์
. ห้องสนทนาออนไลน์
. ระบบทะเบียนออนไลน์
. แบบสำรวจ
. ดาวน์โหลด
. กระดานข่าว
. เว็บน่าสนใจ
. Hot Vote
. แผนที่การเดินทาง
. E-Mail
. ติดต่อเรา

   ทำเนียบบุคคลากร
. คณะกรรมการฯ

. ฝ่ายบริหาร

สายงานการสอน
. มัธยมฯ 1-3
. ประถมฯ 4-6
. ประถมฯ 1-3
. ก่อนประถมศึกษา

. นักการ

   เผยแพร่ผลงานครู
More..

โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง: บทเรียนออนไลน์: การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
บทเรียนออนไลน์

กลับไปหน้าแรก
บทเรียนล่าสุด
บทเรียนที่ได้รับความนิยม
บทเรียนที่ได้รับคะแนนสูง

เข้าระบบ เพื่อเข้าชมบทเรียนโปรด

รายละเอียด: การฟังเพื่อจับใจความสำคัญหมายถึง การอ่านอย่างมีความเข้าใจเนื้อความตอนที่ทำให้เรื่องต่าง ๆ เกิดขึ้น
เวอร์ชัน: 1.1
เมื่อ: 05 มกราคม 2008
โดย: ครูจีระภา พึ่งกริม
ระดับความยากง่าย: ง่ายมาก
เข้าชม: 17216
คะแนน: 7.5 (2 คะแนน)
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลงคะแนน

การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ

ความหมายของ การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
การฟังเพื่อจับใจความสำคัญหมายถึง การอ่านอย่างมีความเข้าใจเนื้อความตอนที่ทำให้เรื่องต่าง ๆ เกิดขึ้น

การอ่านกับการฟัง
ผู้ที่จะอ่านและฟังเข้าใจต้องมีความพร้อม ถ้าเปรียบเทียบระหว่างผู้อ่านและผู้ฟังจะเห็นว่ามีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจน ในการจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านหรือฟังนั้น ผู้ฟังต้องตั้งใจตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้น หรือไม่ตั้งใจฟังบางขณะ คำพูดย่อมผ่านไป แต่ผู้อ่านสามารถอ่านซ้ำหลายครั้งเพื่อจับใจความและทำความเข้าใจเรื่องได้

การฟังยังมีผลต่างกับการอ่านคือ การฟังก่อให้เกิดปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างผู้ฟังได้ แต่ การอ่านแม้จะอ่านหนังสือเล่มเดียวกันในเวลาเดียวกัน ผู้อ่านจะได้ความรู้ ความจำ เฉพาะตอนที่จับใจความได้และไม่อาจมีปฏิกิริยาร่วมกับผู้อื่นได้

ลักษณะการฟังที่ดี
การรู้จักฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้ฟังที่ดีจะช่วยให้เป็นคนมีสมรรถภาพสูง เยือกเย็นน่าคบหาเพราะมีมนุษยสัมพันธ์ดี นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาอีกด้วย ลักษณะการฟังที่ดี พอจะกำหนดเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
1. ฟังด้วยความสนใจ ตั้งใจ และมีสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เมื่อจำเป็นต้องมีการฟัง ต้องฟังด้วยความสนใจ ทำให้อยากรู้อยากเห็น และต้องคิดเสมอว่าเรื่องนี้มีประโยชน์น่าสนใจ
2. ฟังด้วยความตั้งใจ ตัดสิ่งรบกวนทางจิตใจออกไปไม่คิดถึงความหิว ความอิ่ม ฯลฯ ถ้าตัดกังวลเหล่านี้ไปได้ก็จะเหลือแต่ความตั้งใจฟัง จะได้รับสาระเต็มที่
3. ฟังเพื่อเก็บสาระสำคัญ ในการฟังแต่ละครั้งต้องทราบว่า ผู้พูดพูดเรื่องอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร เราก็รู้จักสรุปเรื่องเพื่อเก็บสาระสำคัญให้ได้
4. ฟังเพื่อพัฒนาความคิด ตามธรรมดามนุษย์เรามีความคิดเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาบางทีนั่งอยู่นิ่ง ๆ ก็คิดถึงเรื่องราวต่าง ทั้งที่เกิดขึ้นในอดีตและคาดการณ์ว่าจะเกิดในอนาคตดูสับสนไปหมด
แต่เมื่อมีรายการที่จะฟังเราอาจเห็นด้วยหรือเห็นขัดแย้งกับผู้พูดก็ได้ การฝึกความคิดนี้ต้องฝึกอยู่ เสมอ ๆ จึงจะเป็นนักฟังที่ชาญฉลาด
5. ผู้ฟังต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่ฟัง การฟังเรื่องราวใด ๆ ก็ตาม หากผู้ฟังมีพื้นฐานความรู้เดิมอยู่บ้างก็จะได้ประโยชน์ ไม่สับสน และสามารถเชื่อมเรื่องราวที่กำลังฟังใหม่กับความรู้เก่าของเราได้อย่างกลมกลืน
6. ผู้ฟังต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษา หมายถึง ควรรู้จักคำอย่างกว้างขวาง เพราะสามารถจะทำความเข้าใจเรื่องที่ฟังได้อย่างรวดเร็ว
7. ต้องมีความเคารพและยอมรับผู้พูด ถึงแม้บางครั้งอาจแตกต่างกับเรื่องที่เราเคยรู้มา หรือเคยเรียนมา
9. มีวิจารณญาณและความรอบคอบ สามารถจับประเด็นได้ว่า ตอนใดเป็นแก่นของเรื่องหรือใจความสำคัญของเรื่อง และตอนใดเป็นพลความ หรือตัวอย่างประกอบ
10. มีเจตคติที่ดีต่อผู้พูดและเรื่องที่รับฟัง ผู้พูดที่ดีต้องไม่ถือเอาความรู้สึกส่วนตัวเป็นใหญ่ เราต้องคิดอยู่เสมอว่า บุคคลที่เป็นผู้พูดนั้นเป็นคนที่ควรเคารพ เขามาให้ความรู้แก่เรานับว่าให้ประโยชน์แก่เราเหลือล้น

ส่งมาโดย kmoo



เลือกหน้า: 1 2  [ หน้าถัดไป >> ]




โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 1008 ต. ท่าะมะเขือ อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร 62120 โทร. 055863517 anubankk@gmail.c0m
Best view with IE6+, FireFox6+, Chrome @Res1024x768pxl
This site was established on December 5, 2007.



การสร้างหน้าเอกสาร: 1.99 วินาที