Welcome to โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง!
หน้าแรก  เข้าระบบ ค้นหา  ประวัติโรงเรียน  ข้อมูลพื้นฐาน  ประมวลข่าว  ดาวน์โหลด  กระดานข่าว  Email  ติดต่อเรา

   รับ-ส่งหนังสือราชการ
E-offece

   เมนูหลัก
. หน้าแรก
. เข้าสู่ระบบ
. ค้นหา
. ประวัติโรงเรียน
. ข้อมูลพื้นฐาน
. ปฏิทินกิจกรรม
. ในรั้วโรงเรียน
. เผยแพร่ผลงานครู
. เรื่องจากสมาชิก
. ส่งเรื่อง
. ประมวลข่าว...
    
· โครงการ/กิจกรรม
    
· ประชาสัมพันธ์
    
· ทั่วไป
. ประมวลภาพกิจกรรม
. ประมวลวีดิทัศน์
. บทเรียนออนไลน์
. แบบทดสอบออนไลน์
. ห้องสนทนาออนไลน์
. ระบบทะเบียนออนไลน์
. แบบสำรวจ
. ดาวน์โหลด
. กระดานข่าว
. เว็บน่าสนใจ
. Hot Vote
. แผนที่การเดินทาง
. E-Mail
. ติดต่อเรา

   ทำเนียบบุคคลากร
. คณะกรรมการฯ

. ฝ่ายบริหาร

สายงานการสอน
. มัธยมฯ 1-3
. ประถมฯ 4-6
. ประถมฯ 1-3
. ก่อนประถมศึกษา

. นักการ

   เผยแพร่ผลงานครู
More..

โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง: บทเรียนออนไลน์: การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
บทเรียนออนไลน์

กลับไปหน้าแรก
บทเรียนล่าสุด
บทเรียนที่ได้รับความนิยม
บทเรียนที่ได้รับคะแนนสูง

เข้าระบบ เพื่อเข้าชมบทเรียนโปรด

รายละเอียด: การอ่านออกเสียง คือ ศิลปะในการสื่อสารประสบการณ์ ความคิด และอารมณ์ ของผู้เขียนให้กลับคืนสู่ชีวิตอีกวาระหนึ่ง โดยอาศัยอารมณ์ น้ำเสียง และสีหน้าท่าทางของผู้อ่าน
เวอร์ชัน: 1
เมื่อ: 05 มกราคม 2008
โดย: ครูจีระภา พึ่งกริม
ระดับความยากง่าย: ง่ายมาก
เข้าชม: 16999
คะแนน: 7.5 (2 คะแนน)
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลงคะแนน

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

1. ความหมายของการอ่านออกเสียง
    การอ่านออกเสียง คือ ศิลปะในการสื่อสารประสบการณ์ ความคิด และอารมณ์ ของผู้เขียนให้กลับคืนสู่ชีวิตอีกวาระหนึ่ง โดยอาศัยอารมณ์ น้ำเสียง และสีหน้าท่าทางของผู้อ่าน

2. องค์ประกอบของการอ่านออกเสียง
กระบวนการสื่อสารของการอ่านออกเสียงนี้ต้องประกอบด้วย
2.1 ผู้ส่งสาร คือ ผู้อ่าน
2.2 สาร คือ ข้อความที่อ่าน
2.3 ผู้รับสาร คือ ผู้ฟัง
2.4 วิธีติดต่อสื่อสาร คือ การอ่าน
2.5 การสนองตอบ คือ ผลของการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นการปรบมือ การก้มศีรษะ การทำตาม ฯลฯ

3. หลักในการอ่านออกเสียง

ในการอ่านออกเสียงผู้อ่านต้องยึดหลักดังต่อไปนี้

3.1 ความเข้าใจบทอ่าน ผู้อ่านออกเสียงต้องมีความเข้าใจบทอ่านมากเพียงพอที่จะถ่ายทอดความเข้าใจของตนสู่ผู้ฟังได้ กล่าวคือ ผู้อ่าน จะต้องเกิดภาพในจินตนาการของตนตามบทอ่านอย่างชัดเจน จนสามารถถ่ายทอดความนึกคิดของตนให้ผู้ฟังคิดตามเห็นตามได้

3.2 การยืนหรือนั่ง ควรยืนหรือนั่งในตำแหน่งที่อยู่ตรงหน้า ตรงกลางของผู้ฟัง และห่างจากผู้ฟังพอสมควร การยืนต้องยืนตรง แต่ไม่เกร็งแบบทหาร เท้าทั้งสองข้างห่างกันพอสมควร ไม่ควรยืนอิง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพระจะแสดงถึงความอ่อนแอหรือ แสดงความไม่แยแสต่อผู้ฟัง ไม่ควรยืนเอียงไหล่ไปข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ควรพูดไปเขย่งไป ไม่ควรขยับตัวย้ายน้ำหนักไปยังขาแต่ละข้างตลอดเวลา ไม่ควร เคลื่อนตัวโดยไร้จุดหมายหรือยืนท่าเดียวนิ่งตรง และเมื่อเปลี่ยนเรื่องใหม่ควรขยับตัวเอง เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การนั่งต้องนั่งอย่างเรียบร้อย หลังตรงแต่ไม่แข็งทื่อ ขาวางแนบกันพอสมควร ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง หรือ กระดิกขา

3.3 การถือบทอ่าน จับเอกสารบทอ่านให้มั่น บทอ่านต้องไม่บังหน้าผู้อ่าน เพราะผู้ฟังต้องการทั้งฟังและดูสีหน้าท่าทางของผู้อ่านประกอบด้วยถ้าผู้ฟังมองไม่เห็นผู้อ่านแล้ว จะแสดงอาการชะเง้อชะแง้อยู่ตลอดเวลา และในที่สุดจะหมดความพยายามและความสนใจในการติดตามรับฟังต่อไป

3.4 การใช้ไมโครโฟน
3.4.1 บุคคลบางคนจะเกิดการตื่นกลัวในการใช้วัสดุอุปกรณ์อันไม่คุ้นเคย ดังนั้นผู้อ่านที่คาดคิดว่าตนอาจต้องใช้ ไมโครโฟนในวันใดวันหนึ่ง จึงควรเริ่มหัดสังเกตลักษณะรูปร่างและวิธีการใช้ไมโครโฟนของผู้อื่นไว้ก่อน เพื่อว่าเมื่อตนถึงวาระที่จะต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นบ้างจะได้สามารถใช้ได้ด้วยความคล่องแคล่วและมั่นใจ
3.4.2 การทดลองใช้ไมโครโฟนที่สุภาพที่สุด คือ ให้ใช้ปลายเล็บของนิ้วชี้ขูดลงเบา ๆ ที่ส่วนหัวของไมโครโฟน แล้วฟังเสียงดูว่าดังหรือไม่ อย่าใช้มือเคาะที่ส่วนใดส่วนใดส่วนหนึ่งของไมโครโฟน หรือพูดว่า “ฮัลโหล ๆ” เป็นอันขาด เพราะอาจทำให้ ไมโครโฟนเสียหาย แล้วยังเป็น การเสียมารยาทอีกด้วย

3.5 การใช้เสียง
3.5.1 น้ำเสียง ต้องมีการเน้น หนัก เบา ดัง ค่อย ให้เป็นไปตามเนื้อเรื่องที่อ่านจึงจะทำให้การฟังมีรสชาติ น่าสนใจที่จะติดตามฟัง เพราะน้ำเสียงนอกจากจะช่วยสื่อความหมายแล้วยังทำให้ผู้ฟังได้อารมณ์ฟังอีกด้วยอย่าอ่านระดับเสียงเดียวกันโดยตลอด จะทำให้หมดรสชาติในการฟัง และน่าเบื่อหน่ายอย่างยิ่ง
3.5.2 ความดังของเสียง ระดับความดังของเสียงจะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ฟังกับระยะห่างระหว่างผู้อ่านและผู้ฟัง ถ้าห้องที่ใช้อ่านเป็นห้องใหญ่มีคนฟังมาก เราก็ต้องอ่านให้ดังชัดเจนเพียงพอที่ผู้ฟังที่อยู่แถวหลังได้ยินอย่างชัดเจน แต่อย่าตะโกนเป็นอันขาดเพราะจะทำให้เสียงกระด้างไม่น่าฟัง ผู้อ่านออกเสียงต้องสังเกตการตอบสนองของผู้ที่นั่งแถวหลังสุด ถ้าบุคคลเหล่านั้นพูดคุยกันเอง ไม่สนใจที่จะติดตามรับฟัง หรือ นั่งหลับ จะเป็นการแสดงว่าเสียงของผู้อ่านไม่เพียงพอ
ถ้ามีเครื่องขยายเสียง ผู้อ่านออกเสียงต้องลดระดับเสียงลงบ้าง เพราะเสียงที่ดังเกินควรจะถูกขยายจนพร่า ผู้ฟังจะไม่รู้
3.5.3 จังหวะในการอ่าน ถ้าผู้อ่านออกเสียงอ่านช้าลง ผู้ฟังเข้าใจคำพูดได้แจ่มแจ้งมากกว่าการอ่านเร็ว ๆ แต่ต้องระวังโดยพยายามอ่านให้ได้จังหวะที่พอดี ถ้าอ่านช้าเกินไปผู้ฟังจะเกิดความเบื่อหน่าย แต่ถ้าอ่านคล่องแคล่วรวดเร็วไปแล้ว ผู้ฟังอาจติดตามรับฟังไม่ทัน
การอ่านได้จังหวะ การเว้นวรรคตอน การทอดเสียงอย่างเหมาะเจาะจะช่วยให้การอ่านไพเราะน่าฟังขึ้น

3.6 การอ่านออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี คำที่เรามักอ่านออกเสียงผิดพลาดไม่ชัดเจน ได้แก่
3.6.1 พยัญชนะ ร กับ ล พยัญชนะทั้งสองนี้ เรามักอ่านผิดพลาดและสับสนกันเสมอ ผู้อ่านออกเสียงจึงต้องระมัดระวังโดยการอ่านแยกความแตกต่างให้ชัดเจน

การอ่านพยัญชนะ ร ให้ปลายลิ้นกักลมที่ปุ่มเหงือก ห่อลิ้นตัวไปที่เพดานแข็ง รัวลิ้นหลาย ๆ ครั้ง
สำหรับผู้ที่มีลิ้นค่อนข้างแข็ง ไม่สามารถบังคับลิ้นให้อ่อนพลิ้วขณะที่ลมผ่านลิ้นออกมาได้ ควรฝึกการเปล่งเสียง “รือ” บ่อย ๆ โดยในการเปล่งเสียงแต่ละครั้ง ควรทอดเสียงได้นานสัก 10- 20 วินาที แล้วจึงเปล่งคำที่มีพยัญชนะ ร ในภายหลัง

การอ่านพยัญชนะ ล ให้ปลายลิ้นแตะปุ่มเหงือกปล่อยลมออกมาทางข้างลิ้น

ตัวอย่างแบบฝึกออกเสียง ร กับ ล
โรงเรียนเราน่ารื่นรมย์เพราะมีต้นรังขึ้นเรียงรายอยู่ริมรั้ว
เด็กชายรณรงค์เรียนเรื่องโรมถูกรุกรานก็รบเร้าจะดูรูปรักรบโบราณ
เขาร้องเรียกเราเข้าร่วมงานรื่นเริงในร้าน “อร่อยรส”





โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 1008 ต. ท่าะมะเขือ อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร 62120 โทร. 055863517 anubankk@gmail.c0m
Best view with IE6+, FireFox6+, Chrome @Res1024x768pxl
This site was established on December 5, 2007.



การสร้างหน้าเอกสาร: 0.08 วินาที