Welcome to โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง!
หน้าแรก  เข้าระบบ ค้นหา  ประวัติโรงเรียน  ข้อมูลพื้นฐาน  ประมวลข่าว  ดาวน์โหลด  กระดานข่าว  Email  ติดต่อเรา

   รับ-ส่งหนังสือราชการ
E-offece

   เมนูหลัก
. หน้าแรก
. เข้าสู่ระบบ
. ค้นหา
. ประวัติโรงเรียน
. ข้อมูลพื้นฐาน
. ปฏิทินกิจกรรม
. ในรั้วโรงเรียน
. เผยแพร่ผลงานครู
. เรื่องจากสมาชิก
. ส่งเรื่อง
. ประมวลข่าว...
    
· โครงการ/กิจกรรม
    
· ประชาสัมพันธ์
    
· ทั่วไป
. ประมวลภาพกิจกรรม
. ประมวลวีดิทัศน์
. บทเรียนออนไลน์
. แบบทดสอบออนไลน์
. ห้องสนทนาออนไลน์
. ระบบทะเบียนออนไลน์
. แบบสำรวจ
. ดาวน์โหลด
. กระดานข่าว
. เว็บน่าสนใจ
. Hot Vote
. แผนที่การเดินทาง
. E-Mail
. ติดต่อเรา

   ทำเนียบบุคคลากร
. คณะกรรมการฯ

. ฝ่ายบริหาร

สายงานการสอน
. มัธยมฯ 1-3
. ประถมฯ 4-6
. ประถมฯ 1-3
. ก่อนประถมศึกษา

. นักการ

   เผยแพร่ผลงานครู
More..

โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง: บทเรียนออนไลน์: สุขภาพทางกายและทางจิต
บทเรียนออนไลน์

กลับไปหน้าแรก
บทเรียนล่าสุด
บทเรียนที่ได้รับความนิยม
บทเรียนที่ได้รับคะแนนสูง

เข้าระบบ เพื่อเข้าชมบทเรียนโปรด

รายละเอียด: สุขภาพทางกายและสุขภาพจิต เป็นสิ่งสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตบุคคล เป็นสิ่งสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตบุคคล เนื่องจากกายและจิตมีความสัมพันธ์ต่อกัน และมีผลต่อสุขภาพ
เวอร์ชัน: 1.0
เมื่อ: 17 ตุลาคม 2008
โดย: kmoo
ระดับความยากง่าย: ง่ายมาก
เข้าชม: 54354
คะแนน: 5.0 (1 คะแนน)
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลงคะแนน

สุขภาพทางกายและทางจิต



ความหมายและความสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิต
สุขภาพกาย หมายถึง ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายที่มีการเจริญเติบโตเป็นปกติและมีการ พัฒนาสมกับวัย ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานเป็นปกติร่างกายมีความต้านทานโรคดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและ ความทุพพลภาพ
สุขภาพจิต หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีความสัมพันธ์อันดีงามกับบุคลอื่น จิตมีความสดชื่น ร่าเริงแจ่มใสสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดีและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสุขสบาย
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่จะเป็นผู้ที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี เพระว่าผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีจะสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขเมื่อคนเรารู้สึกว่ามีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีก็จะมีความสุข ในทางตรงกันข้ามถ้ารู้สึกว่ามีสุขภาพกายและสุขภาพจิตไม่ดีก็จะมีความทุกข์ ดังนั้นคนเราจึงต้องรู้จักบำรุงรักษาและส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ

การปฏิบัติตนให้มีสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตที่ดี
การปฏิบัติตนให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี จะต้องคำนึงถึง 3 คำ คือ “คิด พูด ทำ” ซึ่งเป็นวงจรของการดำเนิชีวิตของคนเราต่อสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิต ดังนี้
1. คิดแต่สิ่งที่ดี คนเราที่คิดแต่สิ่งที่ดี ๆ การมองโลกในแง่ดี มักจะได้รับผลคือ มีความสุขใจ
สบายใจ เบิกบานใจ มีความสุข สดชื่น ส่งผลทำให้สุขภาพกายดี ไม่เจ็บป่วย รู้จักใช้สติยับยั้ง รู้จักคิดก่อนพูด รู้จักใชัทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเชิงวิเคราะห์ในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
2. พูดแต่คำที่ดี คำพูดที่เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่พูดโกหกหลอกลวง มีเล่ห์เหลี่ยม
มารยา คำพูดที่มีสัจจะวาจาเหล่านั้นจะมีคุณค่า มีความหมายต่อผู้อื่นที่จะสร้างความเชื่อถือต่อเรา การพูดดีทำให้ผู้อื่นเกิดความเชื่อถือไว้วางใจ
3. ทำแต่ความดี การทำความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เข้าใจความรู้สึกของตนเองและผู้อื่นเห็น
อกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอื้ออาทร รู้จักการให้ การรับ รู้จักอภัย ผลที่ได้รับจะทำให้เป็นที่รัก เคารพของผู้อื่น รู้จักการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ละเว้นอบายมุข ทำประโยชน์และสร้างความดีแก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และชุมชน เป็นสิ่งที่ควรยึดและปฏิบัติเป็นประจำ

การปฏิบัติตนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต
การรู้จักปฏิบัติตนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ
สุขภาพ กายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งควบคู่กันเสมอ มีอิทธิพลซึ่งกันและกันห ากร่างกายมีความเจ็บป่วย จิตใจก็จะขุ่นมัว ไม่แจ่มใส เกิดความหงุดหงิด หรือหากจิตใจเกิดความเครียด ความกังวล ก็อาจแสดงความเจ็บป่วยออกมาทางร่างกายได้ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ดังนั้น เราจึงควรดูแลรักษาและส่งเสริม ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

การสร้างเสริมสุขภาพกาย
1. รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและถูกสุขลักษณะ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด มีประโยชน์ เช่น ผักและผลไม้ปราศจากสารเคมีอันตราย
2. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทางเพศ สร้างค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง ไม่สำส่อนทางเพศ ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ควรหากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ หรือหมกมุ่นในเรื่องเพศ เช่น การออกกำลังกาย การพักผ่อน การนันทนาการ
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 30 นาที โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และวัยของตนเอง
4. การดูแลป้องกันอุบัติเหตุ และความรุนแรง สร้างความตระหนักในการระมัดระวังอุบัติเหตุภายในบ้าน หรือในที่สาธารณะ การเรียนรู้การฝึกปฏิบัติความปลอดภัยในชีวิต หลีกเลี่ยงความรุนแรง เช่น การทะเลาะวิวาท การจราจร การประท้วง
5. ไม่ทดลองหรือสัมผัสสารเสพติด
6. รักษาสุขภาพอนามัยให้ดีอยู่เสมอ การรักษาร่างกายให้สะอาด เช่น การอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 เวลา การรักษาช่องปากและฟัน ฯลฯ ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนดเมื่อมีอาการเจ็บป่วย

การสร้างเสริมสุขภาพจิต
1. สร้างความเชื่อมั่นให้ตนเอง ให้กำลังใจตนเอง
2. ทำจิตใจให้ร่าเริงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียดต่าง ๆ เช่น
การเล่นกีฬา ฟังเพลง ดูภาพยนตร์ ทำงานอดิเรก
2. ทำความเข้าใจกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และปรับตัวให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข ตามแนวทางที่ถูกต้อง
3. ควบคุมอารมณ์ตนเองให้เป็นปกติอยู่เสมอ
4. หาที่ปรึกษาเวลามีปัญหา เช่น พ่อแม่ ญาติผู้ใกล้ชิด เพื่อนที่ไว้วางใจได้ เพื่อระบายความทุกข์และรับฟังคำแนะนำในการแก้ปัญหาไม่ควรเก็บตัวคนเดียว ควรพยายามหาหนทางแก้ไข โดยการเผชิญหน้ากับปัญหา การใช้ทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล เพื่อให้ปัญหาต่าง ๆ คลี่คลายหรือลดลงไปได้
5. ทำ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และสร้างความเพลิดเพลินให้กับตนเอง เช่น เล่นกีฬา เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ประดิษฐ์สิ่งของ หรือกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ
6. การฝึกสมาธิ การทำบุญ การทำกิจกรรมทางศาสนา เพื่อให้จิตใจสงบสุขไม่ฟุ้งซ่าน





โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 1008 ต. ท่าะมะเขือ อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร 62120 โทร. 055863517 anubankk@gmail.c0m
Best view with IE6+, FireFox6+, Chrome @Res1024x768pxl
This site was established on December 5, 2007.



การสร้างหน้าเอกสาร: 2.02 วินาที