Welcome to โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง!
หน้าแรก  เข้าระบบ ค้นหา  ประวัติโรงเรียน  ข้อมูลพื้นฐาน  ประมวลข่าว  ดาวน์โหลด  กระดานข่าว  Email  ติดต่อเรา

   รับ-ส่งหนังสือราชการ
E-offece

   เมนูหลัก
. หน้าแรก
. เข้าสู่ระบบ
. ค้นหา
. ประวัติโรงเรียน
. ข้อมูลพื้นฐาน
. ปฏิทินกิจกรรม
. ในรั้วโรงเรียน
. เผยแพร่ผลงานครู
. เรื่องจากสมาชิก
. ส่งเรื่อง
. ประมวลข่าว...
    
· โครงการ/กิจกรรม
    
· ประชาสัมพันธ์
    
· ทั่วไป
. ประมวลภาพกิจกรรม
. ประมวลวีดิทัศน์
. บทเรียนออนไลน์
. แบบทดสอบออนไลน์
. ห้องสนทนาออนไลน์
. ระบบทะเบียนออนไลน์
. แบบสำรวจ
. ดาวน์โหลด
. กระดานข่าว
. เว็บน่าสนใจ
. Hot Vote
. แผนที่การเดินทาง
. E-Mail
. ติดต่อเรา

   ทำเนียบบุคคลากร
. คณะกรรมการฯ

. ฝ่ายบริหาร

สายงานการสอน
. มัธยมฯ 1-3
. ประถมฯ 4-6
. ประถมฯ 1-3
. ก่อนประถมศึกษา

. นักการ

   เผยแพร่ผลงานครู
More..

โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง: บทเรียนออนไลน์: การอ่านตีความ
บทเรียนออนไลน์

กลับไปหน้าแรก
บทเรียนล่าสุด
บทเรียนที่ได้รับความนิยม
บทเรียนที่ได้รับคะแนนสูง

เข้าระบบ เพื่อเข้าชมบทเรียนโปรด

รายละเอียด: การอ่านตีความเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน เพราะการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
เวอร์ชัน: 1.1
เมื่อ: 02 มกราคม 2008
โดย: ครูจีระภา พึ่งกริม
ระดับความยากง่าย: ง่ายมาก
เข้าชม: 57984
คะแนน: 10.0 (1 คะแนน)
รายละเอียดเพิ่มเติม
ลงคะแนน

การอ่านตีความ

ความหมาย
การอ่านตีความ คือ การอ่านเพื่อพยายามเข้าใจความหมาย และถอดความรู้สึกอารมณ์สะเทือนใจ จากข้อความที่ผู้เขียนสื่อให้อ่านอาจจะตีความหมายได้ตรงกับความมุ่งหมายหรือเจตนาของผู้เขียนก็ได้ หรือบางครั้งอาจจะเข้าใจความหมายตามวิธีของตนเอง โดยอาศัยพื้นความรู้เดิมความสนใจประสบการณ์ ระดับสติปัญญา และวัย

จุดมุ่งหมายของการอ่านตีความ
การอ่านตีความมีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาข้อความหรือเรื่องนั้น ๆ มีความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไรและสามารถที่จะอธิบายถึงเจตนา และความคิดของผู้เขียนได้อย่างชัดเจนการตีความจากการอ่านจะแตกต่างกันไปด้วยสาเหตุหลายประการ ได้แก่
1. ความสามารถของแต่ละบุคคล
2. วัย ทั้งนี้เพราะความรู้สึกนึกคิด ความซาบซึ้ง ความสนใจ ตลอดจนความรู้ย่อมแตกต่างกันไปตามวัยต่าง ๆ กัน ทั้ง ที่เป็นเรื่องเดียวกัน
3. ประสบการณ์ เนื่องจากความเข้าใจและความซาบซึ้งในเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่เหมือนกันเพราะคนที่ไม่เคยประสบกับเหตุการณ์ใด ก็จะข้าใจและซาบซึ้งน้อยกว่าคนที่มีประสบการณ์เรื่องนั้นมาแล้ว
4. ความเข้าใจถ้อยคำ ซึ่งหมายถึง ความหมายของคำ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการตีความหากไม่เข้าใจถ้อยคำ ก็จะตีความได้ไม่ถูกต้องและไม่ลึกซึ้ง
5. ความสามารถในการเปรียบเทียบกับเรื่องอื่น หมายถึง ความเข้าใจและสามารถนำไปเกี่ยวข้องกับข้อความอื่นที่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นการตีความตามตัวอักษร ตีความตามเนื้อหาหรือตีความตามน้ำเสียงก็ตาม ตัวอย่าง เช่น

เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง
ตีความตามตัวอักษร : อันมูลช้างนั้นขนาดใหญ่กว่ามูลคน ฉะนั้นอย่าทำตามช้าง
ตีความหมายเนื้อหา : ให้รู้จักประมาณตน หรือ ทำสิ่งใดตามอัตภาพ
ตีความตามน้ำเสียง : ทำอะไรควรดูตามฐานะของตนเอง ไม่ควรตามอย่างคนที่มีฐานะดีกว่า

6. ความสามารถในการใช้ถ้อยคำ คำบรรยายข้อความของการตีความ ซึ่งบางคนเข้าใจเรื่องได้ดี
แต่อธิบายไม่ได้ เพราะไม่สามารถบรรยายให้ดีดังที่ตนรู้และเข้าใจได้
การอ่านเพื่อตีความนั้น ผู้อ่านต้องใช้สติปัญญา เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้เขียนสามารถที่จะสรุปความคิด จับใจความสำคัญ และอธิบายขยายความได้

ข้อปฏิบัติในการอ่านตีความ
1. อ่านเรื่องให้ละเอียดแล้วพยายามจับประเด็นสำคัญให้ได้
2. ขณะที่อ่านต้องพยายามคิดหาเหตุผลและใคร่ครวญอย่างรอบคอบ และนำมาประมวลเข้ากับความคิดของตนเองว่าข้อความหรือเรื่องนั้น ๆ มีความหมายถึงสิ่งใด
3. ทำความเข้าใจกับถ้อยคำบางคำที่มีความสำคัญตลอดจนคำแวดล้อมหรือบริบทประกอบด้วยเพื่อเข้าใจความหมายได้ชัดเจนขึ้น
4. เรียบเรียงถ้อยคำที่จะใช้บรรยายให้มีความหมายชัดเจน
5. จับแต่ใจความสำคัญของเรื่องนั้นด้วยความรู้ความคิดอย่างมีเหตุผล

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการตีความนั้น คือ การตีความนั้นไม่ใช่การถอดคำประพันธ์ซึ่งจะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า การถอดคำประพันธ์นั้นเป็นการเรียบเรียงคำจากคำประพันธ์ที่เป็นร้อยกรองให้เป็นความเรียงหรือร้อยแก้ว ซึ่งจะต้องครบทั้งคำ ครบทั้งความ และครบทั้งสรรพนาม แต่การตีความนั้นเป็นการจับเอาแต่ใจความสำคัญ จะคงไว้ซึ่งคำของข้อความเดิมไม่ได้ ถ้าข้อความนั้นมีสรรพนามจะต้องเปลี่ยนเป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ทันที



เลือกหน้า: 1 2  [ หน้าถัดไป >> ]




โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 1008 ต. ท่าะมะเขือ อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร 62120 โทร. 055863517 anubankk@gmail.c0m
Best view with IE6+, FireFox6+, Chrome @Res1024x768pxl
This site was established on December 5, 2007.



การสร้างหน้าเอกสาร: 1.99 วินาที